ดอกเบี้ย

กนง. มีมติเอกฉันท์ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25%

กนง. มีมติเอกฉันท์ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25%

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในการประชุมวันที่ 31 พ.ค. 66 มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 1.75% เป็น 2.00% ต่อปี โดยให้มีผลทันที โดยเห็นว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องยังเหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ

เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง จากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนเป็นสำคัญ ขณะที่การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับลดลง

แต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังทรงตัวในระดับสูง ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อยังมีความเสี่ยงจากแรงกดดันด้านอุปสงค์ในบริบทที่เศรษฐกิจขยายตัวดี รวมทั้งการส่งผ่านต้นทุนผู้ประกอบการอาจปรับสูงขึ้นจากแรงกดดันด้านอุปทาน คณะกรรมการฯ เห็นว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องยังเหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ จึงเห็นควรให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี ในการประชุมครั้งนี้

สำหรับภาวะเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.6 ในปีนี้ และร้อยละ 3.8 ในปี 2566 และ 2567 ตามลำดับ จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลบวกต่อการจ้างงานและรายได้แรงงาน และเป็นแรงส่งต่อเนื่องไปยังการบริโภคภาคเอกชน ด้านการส่งออกทยอยฟื้นตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ และคาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นในระยะต่อไป สอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่แม้จะชะลอลงบ้างแต่ยังมีทิศทางขยายตัว

คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีโอกาสขยายตัวสูงกว่าที่ประเมินไว้ ส่วนหนึ่งจากนโยบายเศรษฐกิจของภาครัฐ อย่างไรก็ดี ยังต้องติดตามแนวโน้มเศรษฐกิจและการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลักที่ยังมีความไม่แน่นอน

อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มทยอยปรับลดลง โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับลดลงกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมาย และคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ในปีนี้ และ ร้อยละ 2.4 ในปี 2567 จากแรงกดดันจากค่าไฟฟ้าและราคาน้ำมันที่ทยอยคลี่คลาย ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ในปี 2566 และ 2567 ซึ่งอยู่ในระดับสูงเทียบกับอดีต ทั้งนี้

อัตราเงินเฟ้อมีความเสี่ยงด้านสูงจากแรงกดดันด้านอุปสงค์ในบริบทที่เศรษฐกิจขยายตัวดี รวมทั้งการส่งผ่านต้นทุนผู้ประกอบการอาจปรับสูงขึ้นจากแรงกดดันด้านอุปทาน ซึ่งส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายเศรษฐกิจของภาครัฐในระยะต่อไป จึงต้องติดตามพฤติกรรมการปรับราคาของผู้ประกอบการที่อาจเปลี่ยนไป

ราชกิจจานุเบกษา ประกาศให้การเช่าซื้อรถยนต์-จยย. คิดดอกเบี้ยลดต้นลดดอก

ราชกิจจานุเบกษา

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาเรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ.2565 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2541 ประกอบกับมาตรา 3 มาตรา 4 และมาตรา 5 แห่ง พ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดธุรกิจที่ควบคุมสัญญาและลักษณะของสัญญา พ.ศ.2542 โดยจะมีผลบังคับใช้หลังพ้นกำหนด 90 วันนับแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา (12 ต.ค.65) เป็นต้นไป

โดยประกาศดังกล่าวมีสาระสำคัญ ได้แก่

1.การกำหนดสินเชื่อเช่าซื้อในลักษณะของการคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก โดยคิดดอกเบี้ยจากเงินต้นคงเหลือในแต่ละงวดตามกลไกตลาด โดยคำนวณเป็นอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี

  • กรณีรถยนต์ใหม่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละสิบต่อปี
  • กรณีรถยนต์ใช้แล้วต้องไม่เกินอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี
  • กรณีรถจักรยานยนต์ต้องไม่เกินอัตราร้อยละยี่สิบสามต่อปี

ทั้งนี้ คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาอาจปรับเปลี่ยนให้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศในทุกสามปี

2.กรณีผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อรายงวดสามงวดติดๆ กัน และผู้ให้เช่าซื้อมีหนังสือบอกกล่าวผู้เช่าซื้อให้ใช้ค่าเช่าซื้อรายงวดที่ค้างชำระนั้นภายในเวลาอย่างน้อย 30 วันนับแต่วันที่ผู้เช่าซื้อได้รับหนังสือและผู้เช่าซื้อละเลยเสียไม่ปฏิบัติตามหนังสือบอกกล่าวนั้น ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้

3.ก่อนนำรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ออกขายโดยวิธีประมูลหรือวิธีขายทอดตลาดที่เหมาะสม

  • ผู้ให้เช่าซื้อต้องมีหนังสือแจ้งให้ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกัน (ถ้ามี) ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน เพื่อให้ผู้เช่าซื้อใช้สิทธิซื้อก่อนภายในระยะเวลา 20 วัน ได้ตามมูลหนี้ส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อ
  • ผู้ให้เช่าซื้อต้องมีหนังสือแจ้งให้ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกัน (ถ้ามี) ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนวันประมูลหรือวันขายทอดตลาด พร้อมระบุชื่อผู้ทำการขาย วัน และสถานที่ที่ทำการขาย, ห้ามปรับลดราคาเว้นแต่จะได้มีหนังสือแจ้งราคาที่จะปรับลดนั้นให้ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันทราบก่อน, หากได้ราคาเกินกว่ามูลหนี้ส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อต้องคืนเงินส่วนที่เกินให้แก่ผู้เช่าซื้อ แต่ถ้าได้ราคาน้อยกว่ามูลหนี้ส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดในส่วนที่ขาด, ผู้ให้เช่าซื้อต้องไม่เข้าสู้ราคาไม่ว่าโดยวิธีประมูลหรือวิธีขายทอดตลาด

4.กรณีผู้เช่าซื้อประสงค์จะขอชำระเงินค่าเช่าซื้อทั้งหมดในคราวเดียว เพื่อปิดบัญชีค่าเช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อจะต้องให้ส่วนลด

  • กรณีชำระค่างวดมาแล้วไม่เกินหนึ่งในสามของค่างวดเช่าซื้อที่ระบุไว้ในสัญญาให้ได้รับส่วนลดในอัตราไม่น้อยกว่า 60% ของดอกเบี้ยเช่าซื้อที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
  • กรณีชำระค่างวดมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามแต่ไม่เกินสองในสามของค่างวดเช่าซื้อที่ระบุไว้ในสัญญาให้ได้รับส่วนลดในอัตราไม่น้อยกว่า 70% ของดอกเบี้ยเช่าซื้อที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
  • กรณีชำระค่างวดมาแล้วเกินกว่าสองในสามของค่างวดเช่าซื้อที่ระบุไว้ในสัญญาให้ได้รับส่วนลดทั้งหมดของดอกเบี้ยเช่าซื้อที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ

เพื่อการเกษตรที่ดีขึ้น! ธ.ก.ส. จัดชำระดีมีคืนพลัส คืนดอกเบี้ย 20เปอร์เซ็นต์

ธ.ก.ส.

ธ.ก.ส. จัดชำระดีมีคืนพลัส คืนดอกเบี้ย 20% ของดอกเบี้ยที่ชำระจริง สูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท วงเงินรวม 3,000 ล้านบาท เสริมสภาพคล่องเกษตรกร ตรวจสอบสิทธิ์เข้าร่วมโครงการได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ ตั้งแต่บัดนี้ถึง 31 ธ.ค. 65

นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. พร้อมดูแลเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ภัยธรรมชาติและภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวที่ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้ลดลง สวนทางกับภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น

โดยจัดทำมาตรการฟื้นฟูและลดหนี้ครัวเรือนเกษตรกร พร้อมจัดตั้งคณะกรรมการบริหารหนี้ในระดับจังหวัดและสาขาเพื่อจัดทีมงานลงไปพบปะพูดคุย สอบถามปัญหากับเกษตรกรลูกค้า และวางแนวทางการเข้าไปช่วยเหลืออย่างตรงจุด ควบคู่กับการจัดทำโครงการชำระดีมีคืนพลัส ปีบัญชี 2565 เพื่อแบ่งเบาภาระหนี้สินและเสริมสภาพคล่องให้เกษตรกรได้มีเงินหมุนเวียนใช้จ่ายในครัวเรือน

สำหรับเงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการชำระดีมีคืนพลัส ปีบัญชี 2565 ต้องเป็นเกษตรกรรายบุคคลที่มีสถานะเป็นหนี้ปกติ มีกำหนดชำระหนี้คงเหลือในปีบัญชี 2565 (ยกเว้นหนี้เงินกู้โครงการที่ได้รับชดเชยดอกเบี้ยตามนโยบายรัฐบาล) และชำระหนี้ตามกำหนดเวลา จะได้รับดอกเบี้ยคืนในอัตรา 20% ของดอกเบี้ยที่ชำระจริง สูงสุดไม่เกินรายละ 2,000 บาท วงเงินรวม 3,000 ล้านบาท โดยทุกการชำระเงินธนาคารจะคืนดอกเบี้ยเข้าบัญชีเงินฝากลูกค้า โดยโอนเข้าบัญชีเงินฝากในวันถัดไป

ลูกค้าสามารถตรวจสอบสิทธิ์ในการเข้าร่วมโครงการฯ ได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับโครงการฯ เพิ่มเติมได้ที่ Call Center 02 555 0555 ทั้งนี้ ระยะเวลาเข้าร่วมโครงการฯ ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 65 ซึ่งเมื่อเกษตรกรลูกค้าชำระหนี้เสร็จสิ้นแล้วสามารถรับการสนับสนุนสินเชื่อใหม่เพื่อนำไปลงทุนในการประกอบอาชีพและต่อยอดธุรกิจ รวมถึงการฟื้นฟูอาชีพเพื่อสร้างรายได้ที่เหมาะสมต่อไป

ภูมิใจไทยเสนอ งดเก็บดอกเบี้ย กยศ. อนุทินเตรียมสู้แก้กฏหมายในสภาฯ

กยศ

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะ หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย พร้อมด้วยสมาชิกพรรค ร่วมกันแถลงข่าว ถึงผลการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ซึ่งเป็นร่างกฎหมายที่จะนำประกบกับร่างของรัฐบาล มีประเด็นสำคัญ ที่พรรคภูมิใจไทยนำเสนอ

รัฐมนตรีรายนี้ เผยว่า ร่างกฎหมายของพรรคภูมิใจไทย มีการแก้ไขมาตรา 44 ไม่ให้มีการเรียกเก็บดอกเบี้ย เพราะเป็นเรื่องการให้การศึกษาที่ประชาชนจะได้ประโยชน์ แต่คณะกรรมาธิการฯ แก้ไขจากร่างของรัฐบาล ที่คิดดอกเบี้ยจาก 2% เป็น 0.25% ซึ่งต่างจากของพรรคภูมิใจไทย ไม่คิดดอกเบี้ย และแม้ว่าพรรคภูมิใจไทย

สู้ในคณะกรรมาธิการฯ แล้วแพ้ แต่ก็จะหยุดความพยายาม จึงจะมาสู้อีกครั้งในสภาผู้แทนราษฎร โดยนายวิรัช พันธุมะผล ส.ส.พรรคภูมิใจไทย ขอแปรญัตติเอาไว้ ส่วนกรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า จะทำให้จะทำให้รัฐบาลขาดรายได้จากการจัดเก็บภาษีเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษานั้น นายอนุทิน ย้ำว่า รัฐบาลต้องให้โอกาสนักศึกษาจบใหม่

ในการทำงาน และขอให้รัฐบาลต้องมั่นใจศักยภาพของเด็กไทย ที่จะสามารถทำงานได้ และมีความพร้อมในการคืนเงินกู้ยืม ผ่านรูปแบบภาษี รายได้บุคคลธรรมดา นายอนุทิน กล่าวต่อไปว่า ไม่ว่าสภาผู้แทนราษฎรจะลงมติอย่างไร ก็ถือว่าเป็นเอกสิทธิ์ของสมาชิก แต่ในสัดส่วนของพรรคภูมิใจไทย จะยืนยันสนับสนุนให้งดการจัดเก็บดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อการศึกษา